วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS

sukosolo@gmail.com

                บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (Advanced Info Service PLC) หรือ เอไอเอส เป็นบริษัทในเครือ ชิน คอร์ปอเรชั่น (ชินคอร์ป) ทำธุรกิจเกี่ยวกับเครือข่ายและบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยมีผู้ใช้บริการประมาณ 17.7 ล้านคนมีส่วนแบ่งการตลาด ประมาณ 52% มากเป็นอันดับ 1 ของประเทศ
                ด้วยความที่เอไอเอสเป็นบริษัทในเครือที่เคยมี พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นเจ้าของ ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน ทำให้เอไอเอสกลายเป็นข้อกังขาในสังคมว่ายังมีความเกี่ยวข้องกับ พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ และกลุ่ม แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติทำให้มีกระแสสนับสนุนเอไอเอสมาจากกลุ่ม นปช. และมีกระแสต่อต้านเอไอเอสออกมาจากกลุ่มในเครือพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
                เริ่มแรกจดทะเบียนก่อตั้งเป็น บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2529  เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2533 โดยเอไอเอสทำสัญญากับ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ให้ดำเนินการโครงการบริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 900 MHz เป็นระยะเวลา 20 ปี ถึง พ.ศ. 2553
เอไอเอสเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 และแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด หลังจากนั้นบริษัทขยายกิจการโดยการเข้าซื้อกิจการในเครือชินวัตร เช่น ชินวัตร ดาต้าคอม (ปัจจุบันคือ บริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ตเวิร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด) , ชินวัตร เพจจิ้ง เป็นต้น บริษัทเปิดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบจีเอสเอ็ม ในชื่อ Digital GSM ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2537 และได้ขยายเวลาร่วมสัญญาเป็น 25 ปี (หมดสัญญาปี พ.ศ. 2558) เมื่อ พ.ศ. 2539
ประธานคณะกรรมการอำนวยการคนปัจจุบันคือ นายไพบูลย์ ลิมปพยอม
โครงการ  เที่ยวสุขใจทั่วไทย อุ่นใจไปทุกที่ เป็นโครงการร่วมระหว่าง  ททท.  และ AIS  จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ  ภายหลังเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง และสภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ส่งผลต่อแผนการเดินทางมายังประเทศไทยของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ  และเกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยทั้งระบบ  ดังนั้น รัฐบาลจึงได้วางนโยบายเพื่อเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้คนไทยหันมาเดินทางท่องเที่ยวและใช้จ่ายภายในประเทศให้มากยิ่งขึ้นทดแทนการสูญเสียรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ  โดยกำหนดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ ภายใต้แคมเปญ เที่ยวไทยครึกครื้น เศรษฐกิจไทยคึกคักเพื่อสร้างกระแสการท่องเที่ยวสู่กลุ่มเป้าหมายคนไทยทุกกลุ่มและเกิดการท่องเที่ยวตลอดปี  เพื่อเป็นการตอบสนองแนวนโยบายดังกล่าว  และ ททท. ได้ตระหนักถึงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ประโยชน์  เนื่องจากเล็งเห็นถึงบทบาทที่มีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในปัจจุบันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโทรศัพท์มือถือที่สามารถเข้าถึงข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตได้ และเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งข้อมูลข่าวสารแก่นักท่องเที่ยวได้สะดวกและรวดเร็ว   รวมถึงผู้ประกอบการได้ประชาสัมพันธ์สินค้า  บริการ และข้อเสนอพิเศษให้นักท่องเที่ยวอีกช่องทางหนึ่ง  โดย ททท. จะสนับสนุนข้อมูลด้านการท่องเที่ยว  แหล่งท่องเที่ยว และรายละเอียดของผู้ประกอบการในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ทั่วประเทศที่อยู่บนเว็บไซต์ ททท.  www.TourismThailand.org ให้กับ AIS   เพื่อนำไปประชาสัมพันธ์ผ่านระบบ   e   Travel  Map  ระบบ  Map on Mobile และบนเว็บไซต์ของ AIS  โดยมีรายละเอียดการให้บริการ ดังนี้
1. e - Travel Map   เป็นเทคโนโลยีที่นักท่องเที่ยวสามารถดูแผนที่แหล่งท่องเที่ยว รวมถึงข้อมูลสินค้าและบริการต่างๆ ของผู้ประกอบการผ่านทางเว็บไซต์ของ ททท. เอง หรือผ่านทางเว็บไซต์ของ AIS  เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกด้านข้อมูลการท่องเที่ยวแก่ลูกค้า
2. Map on Mobile   เป็นการใช้งานระบบแผนที่บนโทรศัพท์มือถือสำหรับผู้ใช้ระบบ AIS โดยเข้าไปยังเว็บไซต์   www.Tourismthailand.org/Mobilemap  เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรม mobileInternet หรือดาวน์โหลดผ่านโทรศัพท์มือถือ AIS ได้ที่หมายเลข *900 หรือ*1672#  แล้ว โทร.ออก ส่วนขั้นตอนการใช้งานนั้นง่ายดาย  เมื่อผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ AIS เปิดโปรแกรม mobileInternet แล้วเลือกเมนู MAP บนหน้าจอโทรศัพท์ ก็สามารถใช้งานแผนที่ เพื่อดูรายละเอียดข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งโหลดมาจาก www.Tourismthailand.org ผ่านมือถือได้ทันที
3. MMS 1672   นอกจากนี้ AIS ยังสนับสนุนระบบ MMS หมายเลขพิเศษ 1672 ให้ ททท. ฟรี เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถถ่ายรูป และส่งภาพประทับใจผ่านระบบ MMS 1672 ซึ่งรูปภาพดังกล่าวจะถูกจัดเก็บในฐานข้อมูล ททท. และถูกนำเสนอบน  www.Tourismthailand.org/MMS1672   ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวสามารถถ่ายภาพที่ประทับใจจากโทรศัพท์มือถือ AIS และส่ง MMS ไปยังหมายเลข 1672 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย  ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552
4. Travel Signage (ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ)   ททท. และ AIS ได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการฯ ไว้ตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ  ทั่วประเทศ เพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่นักท่องเที่ยว ททท. คาดว่าการจัดกิจกรรมครั้งนี้ จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยว และ  การใช้จ่ายภายในประเทศเพิ่มขึ้น  นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มโอกาสและช่องทางในการนำเสนอสินค้า บริการด้านการท่องเที่ยวของผู้ประกอบการไปยังนักท่องเที่ยวโดยผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ ตามแคมเปญ เที่ยวไทยครึกครื้น เศรษฐกิจไทยคึกคักเพื่อกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ และเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการตลาดออนไลน์เพื่อการท่องเที่ยวอีกด้วย
โครงการติดตั้งโทรมาตรตรวจวัดสภาพอากาศอัตโนมัติในเครือข่าย AIS          
โครงการติดตั้งโทรมาตรตรวจวัดสภาพอากาศอัตโนมัติ และเชื่อมต่อข้อมูลไปยังระบบเครือข่ายเพื่อการจัดการทรัพยากรน้ำแห่งประเทศไทย เพื่อเพิ่มระดับความน่าเชื่อถือของข้อมูล เอไอเอส ได้นำเทคโนโลยี GPRS บนระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของเอไอเอส ที่มีความสมบูรณ์แบบ ทั้งในด้านคุณภาพของสัญญาณและความครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อส่งข้อมูลสภาพภูมิอากาศอัตโนมัติ ทุก 10 วินาที และแสดงผลระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของสถาบันฯ ทั้งนี้เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลปริมาณน้ำฝน ความเข็มแสง อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และความกดอากาศ ได้อย่างรวดเร็วและมีความถี่มากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความแม่นยำและเที่ยงตรงของข้อมูลที่จะนำไปใช้ในการวิ เคราะห์ และวางแผนจัดการทรัพยากรน้ำต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน เอไอเอส ได้ให้การสนับสนุนโครงการดังกล่าวด้วยการติดตั้งอุปกรณ์โทมาตรตรวจวัดสภาพอากาศอัตโนมัติ บริเวณสถานีรับ ส่ง ของเอไอเอสทั่วประเทศ จำนวน 407 สถานี และบริเวณกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จำนวน 1 สถานี รวมทั้งสิ้น 408 สถานี พร้อมทั้งสนับสนับสนุนอุปกรณ์สื่อสัญญาณในการส่งข้อมูลด้วยเทคโนโลยี  GPRS เลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ และค่าใช้จ่ายรายเดือน รวมเป็นงบประมาณทั้งสิ้น 20 ล้านบาท
ระบบสารสนเทศด้านการบัญชีของเครือข่าย AIS
ระบบสารสนเทศด้านการบัญชีจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ
1.       ระบบบัญชีการเงิน (Financial Accounting System) บัญชีการเงินเป็นการบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นใน รูป ตัวเงิน จัดหมวด หมู่รายการต่างๆ สรุปผลและตีความหมายในงบการเงิน ได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแส เงินสด โดยมี วัตถุ ประสงค์หลัก คือ นำเสนอสารสนเทศแก่ผู้ใช้และผู้ที่สนใจข้อมูลทางการเงินขององค์การ เช่น นักลงทุน และ เจ้าหนี้ นอกจากนี้ยัง จัดเตรียมสารสนเทศในการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งนักบัญชีสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการประมวลข้อมูล โดยจด บันทึกลงในสื่อต่างๆ เช่น เทป หรือจานแม่เหล็ก เพื่อรอเวลาสำหรับทำการประมวล และแสดงผลข้อมูลตามต้องการ
2.        ระบบบัญชีบริหาร (Managerial Accounting System) บัญชีบริหารเป็นการนำเสนอข้อมูลทางการเงินแก่ ผู้บริหาร เพื่อใช้ในการ ตัดสินใจทางธุรกิจ ระบบบัญชีจะประกอบด้วย บัญชีต้นทุน การงบประมาณ และการศึกษาระบบ โดยมีลักษณะสำคัญคือ
ให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศทางการบัญชีแก่ผู้ใช้ภายในองค์การ
ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในอนาคตของธุรกิจ
ไม่ต้องจัดทำสารสนเทศตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
มีข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน
มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน
AIS จะให้ความสำคัญกับการวบรวมข้อมูลและการติดต่อสื่อสารทางการเงิน ซึ่งเป็นกระบวนการติดต่อสื่อสาร มากกว่า การ วัดมูลค่า โดยที่ AIS จะแสดงภาพรวม จัดเก็บ จัดโครงสร้างประมวลข้อมูล ควบคุมความปลอดภัย และ การรายงานสารสนเทศ ทาง การบัญชี ปัจจุบันการดำเนินงานและการไหลเวียนของข้อมูลทาง การบัญชีมีความ ซับซ้อน มากขึ้น ทำให้นักบัญชีต้องกำหนด คุณ สมบัติของสารสนเทศด้านการ บัญขีให้สัมพันธ์กับการ ดำเนินงานของ องค์ฏาร ประการสำคัญ AIS และระบบสารสนเทศ เพื่อการ จัดการจะมีทั้งส่วนที่แยกออกจากกัน และเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน แต่ MIS จะให้ความสำคัญกับการจัดการ สารสนเทศสำหรับ การตัดสิน ใจของผู้บริหาร ขณะที่ AIS จะประมวล สารสนเทศ เฉพาะ สำหรับผู้ใช้งานทั้งภายในและภายนอกองค์การ เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ และผู้บริหาร เป็นต้น
เอไอเอสพัฒนา'สคูลโซลูชัน'เสริมศักยภาพระบบการศึกษา
                ในภาวะสังคมปัจจุบัน หลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นรอบตัวเป็นตัวชี้บอกว่า ประเทศไทยกำลังก้าวสู่ยุคสารสนเทศ ดังจะเห็นได้จากวงการศึกษาสนใจให้ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และส่งเสริมการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาประยุกต์งานต่างๆ มากขึ้น ซึ่งมีการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในหลายสาขาวิชาชีพ ทั้งในด้านการศึกษา ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การทำงาน การศึกษาหาความรู้ ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมดีขึ้น สำหรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีกับระบบการศึกษาได้มีมานานแล้วในหลายรูปแบบ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค หรือจะเป็นการประยุกต์ใช้กับงานทะเบียนของสถานศึกษา เช่น
- งานทะเบียนเรียนรายวิชา ทำหน้าที่จัดรายวิชาที่ต้องเรียนให้กับนักศึกษา ในแต่ละภาคเรียนทุกชั้นปี ตามแผนการเรียนของแต่ละแผนก แล้วจัดเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลผลการเรียน
             - งานประมวลผลการเรียน ทำหน้าที่นำผลการเรียนจากอาจารย์ผู้สอนมาประมวลในแต่ละภาคเรียน จากนั้นก็จัดเก็บไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลผลการเรียน และแจ้งผลการเรียนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
             - งานตรวจสอบผู้จบการศึกษา ทำหน้าที่ตรวจสอบรายวิชา และผลการเรียน ที่นักศึกษาเรียนตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งจบหลักสูตร จากแฟ้มเอกสาร ข้อมูลผลการเรียน ว่าผ่านเกณฑ์การจบหรือไม่
             และปัจจุบันถือเป็นอีกขั้นของการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีเดิม จากที่บางสถานศึกษาได้มีการใช้ระบบสแกนลายนิ้วมือในการเข้าเรียนอยู่แล้ว ก็ได้มีการเพิ่มอรรถประโยชน์โดยการเชื่อมการประมวลผลเข้ากับระบบการสื่อสาร ด้วยรูปแบบของการสื่อสารด้วย SMS ที่จะแจ้งเวลาการเข้าเรียน รวมถึงผลการเรียนไปยังผู้ปกครอง ซึ่งเทคโนโลยีนี้ถือเป็นสื่อกลางในการสร้างการสื่อสารกับผู้ปกครองได้ใกล้ชิดขึ้น ส่งผลทำให้ในภาพรวมของสถาบันการศึกษาเองสามารถเพิ่มคุณภาพทางการศึกษาได้ด้วย แต่การนำไปประยุกต์ใช้จริงนั้น ควรต้องมีระบบรองรับป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น เช่น หากมีการสแกนแล้ว SEVER เกิดการขัดข้องไม่ส่ง SMS มาที่มือถือของผู้ปกครอง ซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่เข้าใจกันได้ หรือ หากมีการสแกนแล้วไม่เข้าเรียน การมีSMSยืนยันก็จะกลายเป็นเครื่องมือแก้ตัว ดังนั้น ทางสถานศึกษาจึงควรมีระบบที่สามารถรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นด้วย เช่น นอกจากการสแกนในช่วงเช้าก่อนเข้าเรียนนั้น อาจต้องปรับให้มีการสแกนซ้ำอีกครั้งในช่วงบ่าย หรือต้องอาศัยการเช็คชื่อในวิชาเรียนด้วย ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็เท่ากับว่า เราไม่สามารถใช้ประโยชน์จาก School Solutions ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
นอกจากข้อจำกัดที่กล่าวมาแล้ว อีกหนึ่งข้อด้อยของ School Solutions คือ การใช้ประโยชน์ที่ขึ้นอยู่กับระบบอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นช่องทางในการส่งผ่านข้อมูล (เครื่องสแกนนิ้วจะส่งข้อมูลผ่านทาง Internet และแปลงข้อมูลเป็น SMS ส่งไปยังผู้ปกครอง) ดังนั้นสถาบันการศึกษาที่จะนำ School Solutions มาประยุกต์ใช้นั้น ต้องมีระบบอินเตอร์เน็ตเป็นปัจจัยพื้นฐานด้วย นั่นย่อมเท่ากับว่า เป็นการจำกัดสิทธิที่จะเข้าถึง หรือใช้ประโยชน์จาก School Solutions ด้วย

              จากลักษณะการทำงานของ School Solutions ที่ใช้เทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน และสะดวก ไม่มีข้อจำกัดด้านการใช้งาน จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานอื่นๆได้ เช่น ประยุกต์ใช้เป็น Office Solutions คือ การเชคเวลาการเข้า-ออกงานของพนักงาน ส่งให้กับฝ่ายบริหารที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
สรุป
                เอไอเอส มีการใช้เทคโนโลยีในการตอบโจทย์ในการสร้างความความอุ่นใจให้กับผู้ปกครอง จากการที่มีการเปิดตัวโซลูชั่นส์ ที่ชื่อว่า School Solutions มาประยุกต์ใช้กับระบบการศึกษา เพื่อเสริมศักยภาพการบริหารจัดการให้แก่สถาบันการศึกษา ส่งผลให้การทำงานด้านวิชาการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยสร้างความมั่นใจกับผู้ปกครองใน
                ระหว่างที่ลูกหลานไปเรียน และยังช่วยให้โรงเรียนสามารถสื่อสารข้อมูลต่างๆกับผู้ปกครองได้อย่างรวดเร็ว ครบถ้วน และทันต่อสถานการณ์ต่างๆ
โดย School Solutions นี้ มีฟังก์ชั่นหลักๆประกอบด้วย
             - ส่งเวลาการเข้าเรียนผ่าน SMS ไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ปกครองแบบ Real Time หลังจากที่นักเรียน-นักศึกษาสแกนนิ้วมือเมื่อเข้าเรียน (เครื่องสแกนนิ้วจะส่งข้อมูลผ่านทาง Internet และแปลงข้อมูลเป็น SMS ส่งไปยังผู้ปกครอง)
             - ส่งผลการเรียนและรายละเอียดอื่นๆ อาทิ การลงทะเบียนของนักเรียน-นักศึกษา ผ่าน SMS ไปยังโทรศัพท์ เคลื่อนที่ของผู้ปกครอง
             - โรงเรียนสามารถสื่อสารข้อมูลต่างๆได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการดำเนินธุรกิจ
                ผู้บริหารต้องคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยี และการตัดสินใจที่ต้องกระทำอย่างสอดคล้องกัน ปัจจุบันผู้บริหารต้องประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศและ การตัดสินใจทางธุรกิจขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์และสร้างโอกาสในการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ ผู้บริหารต้องสามารถจัดการกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.       กำหนดกลยุทธ์องค์การที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ 
2.       กำหนดแผนงานสารสนเทศระดับองค์การและการดำเนินงาน กำหนดโครงสร้างหน่วยงานสารสนเทศ 
3.       พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศขององค์การ (information system infrastructure) เช่น อุปกรณ์ ชุดคำสั่ง ระบบสื่อสารและจัดการข้อมูล ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดศักยภาพ และความยืดหยุ่นในการปรับตัวของงานสารสนเทศในองค์การ
4.       กำหนดรายละเอียดการดำเนินงานภายในองค์การ พร้อมทั้งพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมต่อการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแก่องค์การ
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ
            ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (business information systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของธุรกิจให้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยถูกออกแบบและพัฒนาให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ทั้งองค์การ สามารถประสานงานและใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับปฏิบัติงานและระดับบริหาร โดยเราสามารถจำแนกระบบสารสนเทศตามหน้าที่ทางธุรกิจตามหน้าที่ดังต่อไปนี้
1.         ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information system)
2.         ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (financial information system)
3.         ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (marketing information system)
4.         ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน (production and operations information system)
  1.   ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (human resource information system)
ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี
            ปัจจุบันงานของนักบัญชีมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างมาก เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยทำให้มีการพัฒนาชุดคำสั่งสำเร็จรูปหรือชุดคำสั่ง เฉพาะสำหรับช่วยในการเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูล ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและเพิ่มความถูกต้องใน การทำงานแก่ผู้ใช้ ทำให้นักบัญชีมีเวลาในการปฏิบัติงานเชิงบริหารมากขึ้น เช่น การออกแบบและพัฒนาระบบงาน พัฒนาระบบงบประมาณและระบบข้อมูลสำหรับผู้บริหาร เป็นต้น โดยที่ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information systems) หรือที่เรียกว่า AIS จะเป็นระบบที่รวบรวม จัดระบบ และนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้สารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยระบบสารสนเทศทางการบัญชีจะให้ความสำคัญกับสารสนเทศที่สามารถวัดได้ หรือ การประมวลผล เชิงปริมาณมากกว่าการแก้ปัญหาเชิงคุณภาพ โดยระบบสารสนเทศด้านการบัญชีจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วนคือ
                1.  ระบบบัญชีการเงิน (financial accounting system) บัญชีการเงินเป็นการบันทึกรายการคำที่เกิดขึ้นในรูปตัวเงิน จัดหมวดหมู่รายการต่าง ๆ สรุปผลและตีความหมายในงบการเงิน ได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ นำเสนอสารสนเทศแก่ผู้ใช้และผู้ที่สนใจข้อมูลทางการเงินขององค์การ เช่น นักลงทุนและเจ้าหนี้ นอกจากนี้ยังจัดเตรียมสารสนเทศในการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งนักบัญชีสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศใช้ในการประมวลข้อมูล โดยจดบันทึกลงในสื่อต่าง ๆ เช่น เทปหรือจานแม่เหล็ก เพื่อรอเวลาสำหรับทำการประมวลและแสดงผลข้อมูลตามต้องการ
                2.  ระบบบัญชีบริหาร (managerial accounting system) บัญชีบริหารเป็นการนำเสนอข้อมูลทางการเงินแก่ผู้บริหาร เพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ระบบบัญชีจะประกอบด้วย บัญชีต้นทุน การงบประมาณ และการศึกษาระบบ โดยมีลักษณะสำคัญคือ
  •     ให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศทางการบัญชีแก่ผู้ใช้ภายในองค์การ 
  •     ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในอนาคตของธุรกิจ 
  •     ไม่ต้องจัดทำสารสนเทศตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
  •     มีข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน 
  •     มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน
AIS จะให้ความสำคัญกับการรวบรวมข้อมูลและการติดต่อสื่อสารทางการเงิน ซึ่งเป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารมากกว่าการวัดมูลค่า โดยที่ AIS จะแสดงภาพรวม จัดเก็บ จัดโครงสร้าง ประมวลข้อมูล ควบคุมความปลอดภัย และการรายงานสารสนเทศทางการบัญชี ปัจจุบันการดำเนินงานและการไหลเวียนของข้อมูลทางการบัญชีมีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้นักบัญชีต้องกำหนดคุณสมบัติของสารสนเทศด้านการบัญชีให้สัมพันธ์กับการดำเนินงานขององค์การ ประการสำคัญ AIS และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะมีทั้งส่วนที่แยกออกจากกันและเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน แต่ MIS  จะให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหาร ขณะที่ AIS จะประมวลสารสนเทศเฉพาะสำหรับผู้ใช้งานทั้งภายในและภายนอกองค์การ เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ และผู้บริหาร เป็นต้น
ระบบสารสนเทศด้านการตลาด 
การตลาด (marketing) เป็นหน้าที่สำคัญทางธุรกิจ เนื่องจากหน่วยงานด้านการตลาดจะรับผิดชอบในการกระจายสินค้าและบริการไปสู่ลูกค้า ตั้งแต่การศึกษา และวิเคราะห์ความต้องการ การวางแผนและการสร้างความต้องการ ตลอดจนส่งเสริมการขายจนกระทั้งสินค้าถึงมือลูกค้า ปกติการตัดสินใจทางการตลาดจะเกี่ยวข้องกับการจัดส่วนประสมทางการตลาด (marketing mix) หรือ ส่วนประกอบที่ทำให้การดำเนินงานทางการตลาดประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยหลัก 4 ประการ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ (product) ราคา (price) สถานที่ (place) และการโฆษณา (promotion) หรือที่เรียกว่า 4Ps โดยสารสนเทศที่นักการตลาดต้องการในการวิเคราะห์ วางแผน ตรวจสอบ และควบคุมให้แผนการตลาดเป็นไปตามที่ต้องการมาจากแหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้
                1.  การปฏิบัติงาน (operations) เป็นข้อมูลที่แสดงถึงยอดขายและการดำเนินงานด้านการตลาด ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา โดยข้อมูลการปฏิบัติงานจะเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่ช่วยในการตรวจสอบ ควบคุม และวางแนวทางปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นในอนาคต
                2.  การวิจัยตลาด (marketing research) เป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด โดยเฉพาะพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการของธุรกิจ โดยนักการตลาดจะทำการวิจัยบนสมมติฐานและการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ปกติข้อมูลในการวิจัยตลาดจะได้มาจากการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ และการใช้แบบสอบถาม การวิจัยตลาดช่วยผู้บริหารในการวางแผนและการตัดสินใจทางการตลาด แต่อาจมีข้อจำกัดของความถูกต้องและความน่าเชื่อถือในการอธิบายพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย
                3.  คู่แข่ง (competitor) คำกล่าวที่ว่า รู้เขารู้เรา รอบร้อยครั้งชนะทั้งร้อยครั้งแสดงความสำคัญที่ธุรกิจต้องมีความเข้าใจในคู่แข่งขันทั้งด้านจำนวนและศักยภาพ โดยข้อมูลจากการดำเนินงาน ของคู่แข่งขันช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนการตลาดอย่างเหมาะสม ปกติข้อมูลจากคู่แข่งขันจะมีลักษณะไม่มีโครงสร้าง ไม่เป็นทางการ และมีแหล่งที่มีไม่ชัดเจน เช่น การทดลองใช้สินค้าหรือบริการ การสัมภาษณ์ลูกค้าและตัวแทนจำหน่าย การติดตามข้อมูลในตลาด และข้อมูลจากสื่อสารมวลชน เป็นต้น
                4.  กลยุทธ์ขององค์การ (corporate strategy) เป็นข้อมูลสำคัญทางการตลาด เนื่องจากกลยุทธ์จะเป็นเครื่องกำหนดแนวทางปฏิบัติของธุรกิจ และเป็นฐานในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดขององค์การ
                5.  ข้อมูลภายนอก (external data) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และเทคโนโลยี ซึ่งจะส่งผลต่อโอกาสหรืออุปสรรคของธุรกิจ โดยทำให้ความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการของลูกค้าขยายหรือหดตัว ตลอดจนสร้างคู่แข่งขันใหม่หรือ เปลี่ยนขั้นตอนและรูปแบบในการดำเนินงาน
สารสนเทศด้านการตลาดอาจจะมีความแตกต่างกันตามประเภทของธุรกิจซึ่ง เราสามารถจำแนกระบบย่อยของระบบสารสนเทศด้านการตลาดได้ดังต่อไปนี้
1.  ระบบสารสนเทศสำหรับการขาย  สามารถแบ่งออกเป็นระบบย่อย 3 ระบบดังต่อไปนี้
  •   ระบบสารสนเทศสำหรับสนับสนุนการขาย 
    จะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของฝ่ายขาย เพื่อให้การขายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อมูลที่ระบบต้องการจะเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่จะทำการขาย รูปแบบ ราคา และการโฆษณาต่าง ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า นอกจากนี้อาจเกี่ยวกับช่องทางและ วิธีการขายสินค้าผ่านตัวแทนจำหน่ายในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้า ตลอดจนคู่แข่งของผลิตภัณฑ์ที่จะขายและจำหน่ายสินค้าคงคลังของบริษัท 
  •   ระบบสารสนเทศสำหรับวิเคราะห์การขาย
    จะรวบรวมสารสนเทศในเรื่องของกำไรหรือขาดทุนของผลิตภัณฑ์ ความสามารถของพนักงานขายสินค้า ยอดขายของแต่ละเขตการขาย รวมทั้งแนวโน้มการเติบโตของสินค้า ซึ่งสามารถหาข้อมูลได้จากรายงานต่าง ๆ เช่น รายงานการขาย รายงานของต้นทุนสินค้าและวัตถุดิบ เป็นต้น 
  •   ระบบสารสนเทศสำหรับการวิเคราะห์ลูกค้า
    จะช่วยในการวิเคราะห์ลูกค้าเพื่อให้ทราบถึงรูปแบบของการซื้อและประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ เพื่อที่ธุรกิจจะสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 

2.  ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด สามารถแบ่งออกเป็นระบบย่อยตามหน้าที่ได้ 2 ระบบ ดังต่อไปนี้
  •   ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยลูกค้า 
     การวิจัยลูกค้าจะต่างกับการวิเคราะห์ลูกค้าตรงที่ว่าการวิจัยลูกค้าจะมีขอบเขต ของการใช้สารสนเทศกว้างกว่าการวิเคราะห์ลูกค้า โดยการวิจัยลูกค้าจะต้องการทราบสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับลูกค้าในด้านสถานะทางการเงิน การดำเนินธุรกิจ ความพอใจ รสนิยมและพฤติกรรมการบริโภค
     
  •   ระบบสารสนเทศสำหรับการวิจัยตลาด
    การวิจัยตลาดจะให้ความสำคัญกับการหาขนาดของตลาดของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่จะนำออกจำหน่าย ซึ่งอาจครอบคลุมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว หลังจากนั้นก็จะกำหนดส่วนแบ่งตลาดของผลิตภัณฑ์เพื่อทำการวางแผน กำหนดเป้าหมาย กำหนดกลยุทธ์และวางแผนกลยุทธ์ สารสนเทศที่เป็นที่ต้องการของการวิจัยตลาดคือสภาวะและแนวโน้มทาง เศรษฐกิจ ยอดขายในอดีตของอุตสาหกรรมหรือผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันในตลาด รวมทั้งสภาวะการแข่งขันของผลิตภัณฑ์นี้ด้วย
3.  ระบบสารสนเทศสำหรับการส่งเสริมการขาย 
เป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับแผนงานทางด้านการโฆษณาและส่งเสริมการขาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการขาย เพิ่มยอดขายสินค้า และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้สูงขึ้น  สารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือยอดขายของสินค้าทุกชนิดในบริษัท เพื่อให้รู้ว่าสินค้าใดต้องการแผนการส่งเสริมการขาย และสารสนเทศที่เกี่ยวกับผลกำไรหรือขาดทุนของสินค้าแต่ละชนิด เพื่อให้ความสำคัญกับสินค้าตัวที่ทำกำไร
4.  ระบบสารสนเทศสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เป็นระบบสารสนเทศที่วิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ลักษณะและความต้องการของลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของลูกค้าแต่ยังไม่มีตลาด โดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการของระบบได้แก่ ยอดขายของผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันในอดีต  เพื่อให้ทราบถึงขนาดและลักษณะของตลาด และการประมาณการต้นทุน เพื่อตอบคำถามให้ได้ว่าสมควรที่จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่
5.  ระบบสารสนเทศสำหรับพยากรณ์การขาย
เป็นระบบที่ใช้ในการวางแผนการขาย แผนการทำกำไรจากสินค้าหรือบริการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของบริษัท ซึ่งจะส่งผลไปถึงการวางแผนการผลิต การวางกำลังคน และงบประมาณที่จะใช้เกี่ยวกับการขาย โดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือ ยอดขายในอดีต สถานะของคู่แข่งขัน สภาวการณ์ของตลาด และแผนการโฆษณา
6.  ระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนกำไร 
เป็นระบบสารสนเทศที่ให้ความสำคัญกับการวางแผนทำกำไรทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของธุรกิจ  โดยสารสนเทศที่เป็นที่ต้องการคือสารสนเทศจากการวิจัยตลาด ยอดขายในอดีต  สารสนเทศของคู่แข่งขัน การพยากรณ์การขาย และการโฆษณา
7.  ระบบสารสนเทศสำหรับการกำหนดราคา
  การกำหนดราคาของสินค้านับว่าเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งทางการตลาด เพราะต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า คู่แข่งขัน กำลังซื้อของลูกค้า โดยปกติแล้วราคาสินค้าจะตั้งจากราคาต้นทุนรวมกับร้อยละของกำไรที่ต้องการ โดยสารสนเทศที่ต้องการได้แก่ ตัวเลขกำไรของผลิตภัณฑ์ในอดีต เพื่อทำการปรับปรุงราคาให้ได้สัดส่วนของกำไรคงเดิม ในกรณีที่ต้นทุนมีการเปลี่ยนแปลง
8.  ระบบสารสนเทศสำหรับการควบคุมค่าใช้จ่าย
  บุคคลที่เป็นผู้ควบคุมค่าใช้จ่ายสามารถควบคุมได้โดยดูจากรายงานของผลการทำกำไร กับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงหรือสาเหตุของการคลาดเคลื่อนของค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการขายรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น เงินเดือน ค่าโฆษณา ค่าส่วนแบ่งการขาย เป็นต้น
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีส่วนสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการขยายโอกาสและเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางการค้า ซึ่งทำให้นักการตลาดสมัยใหม่ต้องสามารถประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อก่อ ให้เกิดโอกาสและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันแก่องค์การ ซึ่งจะส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของตน
ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน
การผลิต (production) เป็นกระบวนการแปรรูปทรัพยากรการผลิต เช่น วัตถุดิบ แรงงาน และ พลังงาน ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมในการจัดจำหน่ายแก่ลูกค้า โดยผู้ผลิตต้องพยากรณ์ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า โดยไม่ให้มีจำนวนมากหรือน้อยจนเกินไป ตลอดจนควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของลูกค้า โดยมีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม ปัจจุบันการขยายตัวของธุรกิจจากการผลิตเข้าสู่สังคมบริการ ทำให้มีการประยุกต์หลักการของการจัดการผลิตกับงานด้านบริการ ซึ่งเราจะเรียกการผลิตในหน่วยบริการว่า การดำเนินงาน (operations)” โดยที่แหล่งข้อมูลในการผลิตและการดำเนินงานขององค์การมีดังต่อไปนี้
                1.  ข้อมูลการผลิต/การดำเนินงาน (production/operations data)  เป็นข้อมูลจากกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ ซึ่งจะแสดงภาพปัจจุบันของระบบการผลิตของธุรกิจว่ามีประสทธิภาพมากน้อยเพียงใด และมีปัญหาอย่างไรในการดำเนินงาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนในการแก้ปัญหาและการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานในอนาคต
                2.  ข้อมูลสินค้าคงคลัง (inventory data) บันทึกปริมาณวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปที่เก็บไว้ในโกดัง โดยผู้จัดการต้องพยายามจัดให้มีสินค้าคงคลังในปริมาณไม่เกินความจำเป็นหรือขาดแคลนเมื่อเกิดความต้องการขึ้น
                3.  ข้อมูลจากผู้ขายวัตถุดิบ (supplier data)  เป็นข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณ คุณสมบัติ และราคาวัตถุดิบ ตลอดจนช่วงทางและต้นทุนในการลำเลียงวัตถุดิบ ปัจจุบันการพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (electronic data interchange) หรือที่เรียกว่า EDI ช่วยให้การประสานงานระหว่างผู้ขายวัตถุดิบ ธุรกิจ และลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น
                4.  ข้อมูลแรงงานและบุคลากร (labor force and personnel data) ข้อมูลเกี่ยวกับพนักงานในสายการผลิตและปฏิบัติการ เช่น อายุ การศึกษา และประสบการณ์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดบุคลากรให้สอดคล้องกับงาน ขณะที่ข้อมูลภายนอกเกี่ยวกับตลาดแรงงานจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนและจัดหาแรงงานทดแทน และการกำหนดอัตราค่าจ้างอย่างเหมาะสม
                5.  กลยุทธ์องค์การ (corporate strategy)  แผนกลยุทธ์ขององค์การจะเป็นแม่บทและแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์การผลิตแลการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
                การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานขององค์การ นอกจากจะส่งผลต่อการพัฒนาผลิตผล (productivity) ของธุรกิจ โดยเฉพาะการปฏิบัติ ตั้งแต่การตัดสินใจเกี่ยวกับการออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ การปรับปรุงกระบวนการผลิต การควบคุมสินค้าคงคลัง การวางแผนคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต และการควบคุมต้นทุนขององค์การให้มีประสิทธิภาพขึ้น ทำให้ระบบอุตสาหกรรมและระบบเศรษฐกิจโดยรวมเติบโตแล้ว ยังส่งผลต่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงานและการจัดรูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคมโดยทางตรงและทางอ้อม
การวางแผนความต้องการวัสดุ 
การบริหารทรัพยากรการผลิต โดยเฉพาะวัตถุดิบ (raw materials) เป็นหัวใจสำคัญของการจัดการด้านการดำเนินงานการผลิต ถ้าธุรกิจมีปริมาณวัตถุดิบมากเกินไปจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสูง แต่ถ้ามีปริมาณวัตถุดิบน้อยเกินไปก็จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อแผนและกระบวนการผลิต ตลอดจนก่อให้เกิดค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ  การวางแผนความต้องการวัสดุ (material requirement planning) หรือที่เรียกว่า MRP เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบการผลิต  เพื่อประกอบการวางแผนความต้องการวัสดุเพื่อให้ธุรกิจสามารถจัดการวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ โดย MRP ให้ความสำคัญกับสิ่งต่อไปนี้
1.         ไม่เก็บวัตถุดิบเพื่อรอการใช้งานไว้นานเกินไป ซึ่งก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาและความเสี่ยงในการสูญหายหรือสูญเสีย 
2.         รายงานผลการผลิตและความเสียหายที่เกิดขึ้นตามระยะเวลาที่กำหนด 
3.       ควบคุมสินค้าคงคลังอย่างเป็นระบบ 
4.         มีการตรวจสอบ แก้ไข และติดตามผลข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น
โดยที่ MRP  มีบทบาทต่อระบบการผลิตขององค์การตั้งแต่การจัดหาวัสดุ เพื่อทำการผลิตโดยการกำหนดปริมาณและระยะเวลาในการสั่งที่ประหยัดค่าใช้จ่าย ตลอดจนจัดเตรียมรายละเอียดของการผลิตในอนาคตซึ่งเราสามารถสรุปว่า MRP  มีข้อดีดังต่อไปนี้
1.         ลดการขาดแคลนวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิต 
2.         ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง 
3.         ช่วยให้บุคลากรมีเวลาในการปฏิบัติงานอื่นมากขึ้น 
4.         ประหยัดแรงงาน เวลา และค่าใช้จ่ายในการติดตามวัตถุดิบ 
5.         ช่วยให้องค์การสามารถปรับตัวอย่างรวดเร็วตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
                นอกจากระบบ MRP แล้ว ได้มีผู้พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการดำเนินงาน เช่น การจัดการคุณภาพโดยรวม (total quality management) หรือที่เรียกว่า TQM และการผลิตแบบทันเวลาพอดี (just-in-time production) หรือที่เรียกว่า JIT เพื่อให้ได้การผลิตที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น ซึ่งต่างต้องอาศัยระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ เกี่ยวข้องกับผู้ขายวัตถุดิบ (supplier) และลูกค้าภายนอกองค์การ ตลอดจนบุคลากรต้องมีความรู้และความสามารถใน การใช้งานระบบสารสนเทศด้านการผลิตขององค์การอย่างเต็มที่
ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล
ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (human resource information system) หรือ HRIS หรือระบบสานสนเทศสำหรับบริหารงานบุคคล (personnel information system) หรือ PIS เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาให้สนับสนุนการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การวางแผน การจ้างงาน การพัฒนาและการฝึกอบรม ค่าจ้างเงินเดือน การดำเนินการทางวินัย ช่วยให้การบริหารทรัพยากรบุคคลเกิดประสิทธิภาพ โดยที่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรบุคคลจะมีดังนี้

                1.  ข้อมูลบุคลากร  เป็นข้อมูลของสมาชิกแต่ละคนขององค์การ ซึ่งประกอบด้วยประวัติเงินเดือนและ สวัสดิการ เป็นต้น
                2.  ผังองค์การ  แสดงโครงสร้างองค์การ การจัดหน่วยงานและแผนกำลังคน ซึ่งแสดงทั้งปริมาณและการจัดสรรทรัพยากรบุคคล
                3.  ข้อมูลจากภายนอก  ระบบบริหารทรัพยากรบุคคลมิใช่ระบบปิดที่ควบคุมและดูแลสมาชิกภายในองค์การเท่านั้น แต่จะเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง  ซึ่งต้องการข้อมูลจากภายนอกองค์การ เช่น การสำรวจเงินเดือน อัตราการว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ เป็นต้น
การจัดการทรัพยากรบุคคลเป็นงานสำคัญที่มิใช่เพียงแต่การปฏิบัติงาน ประจำวันที่เกี่ยวกับการควบคุมดูแลบุคลากรและค่าจ้างแรงงานเท่านั้น แต่ต้องเป็นการดำเนินงานเชิงรุก (proactive) การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานช่วย ให้งานทรัพยากรบุคคลมีประสิทธิภาพขึ้น โดยที่การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคลต้องพิจารณาปัจจัยสำคัญ 5 ประการดังต่อไปนี้
1.  ความสามารถ  (capability) หมายถึงความพร้อมขององค์การและบุคคลในการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยต้องพิจารณาความสามารถของบุคลากร 3 กลุ่มคือ
  • ผู้บริหารระดับสูงต้องพร้อมที่จะสนับสนุนด้านนโยบาย กำลังคน กำลังเงิน และวัสดุอุปกรณ์ในการพัฒนาระบบสานสนเทศขององค์การ
  • ฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และตื่นตัวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ เพื่อให้การทำงานในหน่วยงานมีความคล่องตัวขึ้น
  • ฝ่ายสารสนเทศที่ต้องทำความเข้าใจและออกแบบระบบงานให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ในแต่ละกลุ่ม
2.  การควบคุม (control) การพัฒนา HRIS จะให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของสารสนเทศโดยเฉพาะการเข้า ถึงและความถูกต้องของข้อมูล เนื่องจากข้อมูลด้านทรัยพากรบุคคลจะเกี่ยวข้องกับความเป็นส่วนตัวของสมาชิกแต่ละคน ซึ่งจะมีผลต่อชื่อเสียงและผลได้-ผลเสียของบุคคล จึงต้องมีการจัดระบบการเข้าถึงและจัดการข้อมูลที่รัดกุม  โดยอนุญาตให้ผู้มีหน้าที่และความรับผิดชอบในแต่ละหน่วยงานสามารถ เข้าถึงและปรับปรุงสารสนเทศในส่วนงานของตนเท่านั้น
3.  ต้นทุน (cost) ปกติการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคลจะมีต้นทุนที่สูง ขณะเดียวกันก็จะไม่เห็นผลตอบแทนที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงขององค์การทั้งในด้านการขยายตัวและหดตัวซึ่งจะมีผลกระทบต่อบุคลากร ดังนั้นฝ่ายบริหารและทรัพยากรบุคคลสมควรมีข้อมูลที่เหมาะสมในการตัดสินใจ เป็นต้น ขณะเดียวกัน การลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งฝ่ายบริหารสมควรต้องพิจารณาผลตอบแทนที่ได้รับจากการพัฒนาระบบว่าคุ้มค่ากับต้นทุนที่ใช้ไปหรือไม่
4.  การติดต่อสื่อสาร (communication) หมายถึงการพัฒนาระบบสารสนเทศต้องศึกษาการไหลเวียนของสารสนเทศ (inforamtion flow) ภายในองค์การและความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนเตรียมการในการสื่อสารข้อมูล เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบ เกิดความเข้าใจและทัศนคติที่ดีกับการนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้
5.  ความได้เปรียบในการแข่งขัน (competitive advantage) ปัจจุบันการพัฒนา HRIS ไม่เพียงแต่ช่วยให้การดำเนินงานขององค์การมีประสิทธิภาพขึ้น  แต่ยังมีส่วนสำคัญในการสร้างศักยภาพและความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่ธุรกิจ
             ปัจจุบันเราต่างยอมรับว่า คนเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ แต่ทรัพยากรบุคคลเป็นทรัพยากรมีค่าใช้จ่ายสูงที่ธุรกิจ ต้องรับภาระทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น เงินเดือน สวัสดิการ และข้อมูลผูกพันในสัญญาจ้างงาน HRIS เป็นระบบสารสนเทศที่นำเสนอข้อมูลการตัดสินใจซึ่งเกิดประโยชน์แก่องค์การและสมาชิกแต่ละคน ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับงานด้านทรัพยากรบุคคลอย่างถูกต้องขึ้น

ที่มา : www.krabiunited.com
                   


2 ความคิดเห็น: