วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Ubuntu

อูบุนตู (Ubuntu) (สัท.: ùbúntú หรือ uːˈbunːtuː [3] มีการเรียกว่า อูบันตู บ้าง) เป็นลินุกซ์ดิสทริบิวชันที่พัฒนาต่อมาจากเดเบียน การพัฒนาสนับสนุนโดยบริษัท Canonical Ltd ซึ่งเป็นบริษัทของนายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ชื่อของดิสทริบิวชันนั้นมาจากคำในภาษาซูลู และภาษาโคซา (ภาษาในแอฟริกาใต้) ว่า Ubuntu ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษคือ "humanity towards others"
อูบุนตูต่างจากเดเบียนตรงที่ออกรุ่นใหม่ทุก 6 เดือน และแต่ละรุ่นจะมีระยะเวลาในการสนับสนุนเป็นเวลา 18 เดือน ปัจจุบันมูลนิธิ อูบุนตูได้ประกาศว่าจะขยายระยะเวลาสนับสนุนเป็น 3 ปี ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่รวมมาใน อูบุนตูนั้นเป็นซอฟต์แวร์เสรีทั้งหมด โดยจุดมุ่งหมายหลักของ อูบุนตูคือเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคนทั่วไป ที่มีโปรแกรมทันสมัย และมีเสถียรภาพในระดับที่ยอมรับได้

ประวัติและลำดับการพัฒนา

Ubuntu เปิดตัวเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2004 โดยเริ่มจากการแยกตัวชั่วคราวออกมาทำจากโครงการ Debian GNU/Linux เมื่อเสร็จสิ้นคราวนั้นแล้วก็ได้มีการออกตัวใหม่ๆทุก 6 เดือน และมีการอับเดตระบบอยู่เรื่อยๆ Ubuntu เวอร์ชันใหม่ๆที่ออกมาก็ได้ใส่ GNOME เวอร์ชันล่าสุดเข้าไปด้วย โดยแผนการเปิดตัวทุกครั้งจะออกหลังจาก GNOME ออกหนึ่งเดือน ซึ่งตรงข้ามกับทางฝั่งที่แยกออกมาจาก Debian อื่นๆ เช่นพวก MEPIS, Xandros, Linspire, Progeny และ Libranet ทั้งหมดล้วนมีกรรมสิทธิ์ และไม่เปิดเผยCode ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ในรูปแบบธุรกิจ Ubuntu เป็นตัวปิดฉากหลักการของ Debian และมีการใช้งานฟรีมากที่สุดในเวลานี้
โลโก้ของ Ubuntu ยังคงใช้รูปแบบเดิมตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรก ซึ่งสร้างโดย แอนดี้ ฟิสสิมอน ฟอนต์ได้รับการแจกมาจาก Lesser General Public License แล้วก็ได้มาเป็นโลโก้Ubuntu
ส่วนประกอบต่างๆของUbuntu ส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากความไม่แน่นอนของ Debian โดยทั้งสองใช้ Debian's deb package format และ APT/Synaptic เป็นตัวจัดการการติดตั้งส่วนประกอบต่างๆ
Ubuntu ร่วมมือกับ Debian ในการผลักดันให้เปลี่ยนกลับไปเป็น Debian ถึงแม้ว่าว่าได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ ส่วนประกอบของทั้งสองไม่สามารถเข้ากันได้ ผู้พัฒนาUbuntuหลายๆคนว่ามีตัวจัดการรหัสของส่วนประกอบของDebianอยู่ภายใน ตัวมันเอง อย่างไรก็ตาม แลน เมอดั๊ก ผู้คิดค้น Debian ได้วิจารณ์ในเรื่องความเข้ากันไม่ได้ในหลายๆอย่าง ระหว่างส่วนประกอบของ Ubuntu กับ Debian กล่าวไว้ว่า Ubuntu แตกต่างเป็นอย่างมากจาก Debian ในเรื่องความเข้ากันได้
นั้นคือแผนการที่จะแตกแยกโดยมีชื่อเรือกว่า Grumpy Groundhog มันควรจะมั่นคงแน่นอนในการพัฒนาและทดสอบ ผลักดันให้ซอร์สโค๊ด ออกไปโดยตรงจาก การควบคุมการแก้ไข ของโปรแกรมต่างต่างๆ และโปรแกรมประยุกต์นั้นก็ได้โอนย้ายไปเป็นส่วนของ Ubuntu นั่นควรจะอนุญาตให้ เหล่าpower users และ upstream developers ในการทดสอบโปรแกรมส่วนบุคคล พวกเขาน่าจะได้ทำหน้าที่ ถ้าโปรแกรมได้ถูกกำหนดเป็นส่วนประกอบที่ได้ทำการแจกจ่ายแล้ว นอกจากนี้แล้วยังต้องการที่จะสร้างส่วนประกอบขึ้นมาด้วยตัวของพวกเขาเอง มันควรจะสามารถจัดเตรียมล่วงหน้า ก่อนคำเตือนของการสร้างที่ผิดพลาด บนโครงสร้างที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นการเตรียมการเอาไว้ของ กัมไปร์ กราวฮ๊อก ร่วมมือกับ Debian Unstable ทุกๆ 6 เดือน และกัมไปร์ กราวฮ๊อก ได้ทำให้เป็นซอฟแวร์แบบสาธารณะแล้ว
ปัจจุบัน Ubuntu ได้รับเงินทุนจาก บริษัท Canonical ในวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 นายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ และ บริษัทCanonical ประกาศสร้าง Ubuntu Foundation และเริ่มให้ทุนสนับสนุน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ จุดมุ่งหมายของการริเริ่มที่แน่นอนว่าจะสนับสนุนและพัฒนา เวอร์ชันต่อๆไปข้างหน้าของ Ubuntu แต่ในปี ค.ศ. 2006 จุดมุ่งหมายก็ได้หยุดลง นาย มาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ กล่าวว่าจุดมุ่งหมายที่จะได้เงินทุนฉุกเฉินจากความสัมพันธ์กับบริษัท Canonical คงจบลง
ในช่วงเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 2007 ได้มี Ubuntu Live 2007ขึ้น นายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ประกาศว่า Ubuntu 8.04 (กำหนดการออกเดือนเมษายน ค.ศ. 2008) จะมีการสนับสนุน Long Term Support (LTS) เขาได้ดึงบริษัท Canonical มาเป็นคณะกรรมการในการออกเวอร์ชันการสนับสนุนLTSใหม่ๆทุกๆ 2 ปี
ประวัติของผู้ก่อตั้ง ubuntu จาก www.ubuntuclub.com
ปัจจุบันคนเริ่มใช้ ubuntu กันมากขึ้น บางคนอาจจะไม่ได้สนใจอะไร สนแค่มันสวย หรือ มันดียังไง แต่ผมว่าเราควรรู้ถึงความตั้งใจ และ ปรัชญา ของคนก่อกำเนิดนะครับ แล้วเราอาจจะได้ไม่ใช้กันอย่างเดียว แต่จะร่วมแบ่งปันให้กัน
คนแบบนี้ก็มี
เมื่อ พูดถึง Ubuntu เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่พูดถึง มาร์ค ชัตเติ้ลเวิร์ธ นักธุรกิจหนุ่มจากแอฟริกาใต้ ผู้ริเริ่มโครงการ ขึ้นมาในปี 2547 โดยจัดตั้งเป็นมูลนิธิอูบุนตูในปีถัดมาภายใต้การสนับสนุนเงินทุนเบื้องต้น 10 ล้านเหรียญจากบริษัท Canonical ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนผลักดันโครงการฟรี ซอฟต์แวร์ และ โอเพ่น ซอร์ส ซอฟต์แวร์ โดยเฉพาะ
ขายบริการสนับสนุนแบบครบวงจรให้กับผู้ใช้โอเพ่น ซอร์ส ซอฟต์แวร์ โดยมีอูบุนตูเป็นแกนกลาง โดยรูปแบบมันไปสอาจจะคล้ายกับ เรดแฮท เพียงแต่แนวคิดและปรัชญาของ มาร์คชัตเติ้ลเวิร์ธ นั้นยึดหลักโอเพ่นซอร์ส อย่างเหนียวแน่น และออกแรงผลักดันอย่างแข็งขัน ด้วยความเชื่อว่า ซอฟต์แวร์ควรจะเป็นฟรีที่ทุกคนเข้าถึงได้ ใช้งานได้จริง ยืดหยุ่นปรับแต่งได้ให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละคน
และ แบ่งปันสิ่งที่ต่อยอดมาได้ให้กับผู้อื่น
ไม่ใช่เก็บเกี่ยวสิ่งที่ชุมชนโอเพ่น ซอร์สช่วยกันละไม้คละมือพัฒนาไปทำมาหากินลูกเดียว
Ubutu เป็นคำท้องถิ่นแถบ ซับ-ซาฮาร่า ที่หมายถึงการร่วมไม้ร่วมมือกันเพื่อผู้อื่น humanity for others
ปัจจุบัน มาร์ค ชัตเติ้ลเวิร์ธ มีชื่อเสียงเคียงคู่กับอูบุนตู ทว่าชื่อเสียงของเขามีมาก่อนหน้านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปี 2545 ที่เขาเข้าร่วมเดินทางไปในอวกาศกับยานโซยุซ ของรัสเซีย ด้วยค่าใช้จ่าย 20 ล้านเหรียญสหรัฐ เพราะความหลงใหลในการบินอวกาศมาตั้งแต่เด็ก
แต่ย้อนก่อนหน้า นี้ขึ้นไปอีก ในปี 2538ช่วงปีสุดท้ายระหว่างเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยเคปทาวน์ แอฟริกาใต้ ชัตเติ้ลเวิร์ธตั้งบริษัท Thawteมีความเชี่ยวชาญทางด้านความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต และ ดิจิตัลเซอร์ติฟิเกต เป็นบริษัทแรกที่จัดตั้งอี-คอมเมิร์ซ เว็บ เซิร์ฟเวอร์ ที่มีการเข้ารหัสระบบความปลอดภัยเต็มรูปแบบ ในวงการถือเป็นบุคคลชั้นนำของโลกด้านนี้
เขาขาย Thawte ให้กับ Verisign ไปในปีเดียวกัน ได้เงินมาราวๆหมื่นกว่าล้านบาท แล้วก่อตั้งบริษัท HBD Venture Capital ขึ้นมาเพื่อบ่มเพาะธุรกิจและสนับสนุนเงินทุนแก่ธุรกิจใหม่ๆ
ความสนใจที่ มีต่อโอเพ่นซอร์ส ซอฟต์ของชัตเติ้ลเวิร์ธ นั้นมีมานานแล้ว เขาเป็นหนึ่งในคนที่มีส่วนร่วมในการพัฒนา เดเบียน ลินุกซ์ ตั้งแต่สมัยที่ยังเรียนอยู่ หลังจากเลิกวุ่นวายกับอวกาศ ก็กลับมาสู่วงจรของโอเพ่นซอร์ส อีกครั้งด้วยโครงการอูบุนตู
ในเวลาเพียงไม่กี่ปี อูบุนตู ก็ขึ้นมายืนอยู่แถวหน้าของลินุกซ์
คาดกัน ว่าปีหน้าจะเป็นปีทองของลินุกซ์ หลังจาก เดลล์ คอมพิวเตอร์ขายคอมพิวเตอร์ที่ลงอูบุนตู พร้อมบริการหลังการขายในอเมริกา และยุโรปหลายประเทศ ตามด้วย เอชพี และ เลอโนโว ขณะที่ เทสโก้ก็ทำอย่างเกียวกันแต่ไม่รวมบริการหลังการขาย
มาร์ค ชัตเติ้ลเวิร์ธ เป็นคนที่น่าพูดถึงไม่ใช่เพราะความดัง ความสำเร็จอะไร แต่เพราะวิธีคิดและปรัชญา ความมุ่งมั่นของเขาที่ทุ่มเทให้กับโลกใบนี้


1 ความคิดเห็น: